share

นิ้วล็อก หรือ Trigger Finger

Last updated: 12 Jun 2024
121 Views
นิ้วล็อก หรือ Trigger Finger

นิ้วล็อก หรือ Trigger Finger เรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ  อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จึงมีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อคได้ เกิดจากการอักเสบหนาตัวของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ นิ้วจึงเกิดการล็อก ไม่สามารถกลับมายืดตรงได้ตามปกติ
สาเหตุของโรคนิ้วล็อค   

การใช้งานของมือและนิ้วมือมาก  ระยะเวลานาน หรือบุคคลที่ต้องทำงานโดยการกำมือแน่น ๆ เป็นประจำ จนทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้

อาการนิ้วล็อคแบ่งเป็น 4 ระยะ

ระยะที่ 1 มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือเวลาขยับ

ระยะที่ 2 เริ่มมีอาการสะดุดเวลากำหรือเหยียดนิ้วมือ แต่ยังสามารถเหยียดนิ้วได้

ระยะที่ 3 กำมือแล้วเกิดอาการนิ้วติดล็อก ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้เอง ต้องใช้มือมาช่วยสามารถเอาออกได้

ระยะที่ 4 นิ้วติดล็อกจนไม่สามารถกำมือได้สุด และอาจมีข้อนิ้วมืองอผิดรูปร่วมด้วย

 

นิ้วล็อค  มีโอกาสเป็นเรื้อรังได้ไหม

นิ้วล็อค ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาจะเป็นเรื้อรังได้ไหม จริงๆ แล้ว คนส่วนใหญ่จะไม่เรื้อรัง ถ้าเกิดยังสามารถขยับนิ้วได้บ้าง เพราะมักจะหายเองได้ แต่ว่ากรณีที่เป็นมาก ติดล็อคเยอะๆ แล้วไม่รักษาเลย จนกลายเป็นภาวะข้อติดแข็ง ก็อาจเป็นเรื้อรังได้

การดูแลรักษาเบื้องต้นของอาการ นิ้วล็อค

- พักการใช้หรืองดทำกิจกรรมที่ต้องใช้มือออกแรงหรือแบกน้ำหนักซ้ำๆ

- ประคบเย็นที่ฝ่ามือ ซึ่งช่วยให้อาการนิ้วล็อกดีขึ้นได้ นอกจากนี้การแช่น้ำอุ่นก็บรรเทาอาการให้ทุเลาลง

- หากเกิดอาการนิ้วล็อกรุนแรง รักษาด้วยยาร่วมกับการกายภาพบำบัดแล้วไม่ได้ผล อาการไม่ดีขึ้น อาจต้องได้รับการรักษาด้วยกระบวนการทางการแพทย์วิธีอื่น


หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.. 098-851-5191 wellness reju

บทความที่เกี่ยวข้อง
 โรคหลอดเลือดสมอง   ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้
โรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ หรือเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือด อุดตัน หรือหลอดเลือดแตกส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆขึ้น อาการของโรคหลอดเลือดสมองสามารถพบอาการได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่เกิดการขาดเลือดหรือถูกทำลาย โดยอาการที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่- อาการอ่อนแรง หรือมีอาการอัมพฤกษ์ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมากมักเกิดกับร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ครึ่งซีกด้านซ้ายเป็นต้น- อาการชา หรือสูญเสียความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกันกับอาการอ่อนแรงที่มักเกิดกับร่างกายครึ่งซีกใดครึ่งซีกหนึ่ง- มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ได้พูดติด เสียงไม่ชัด หรือไม่เข้าใจค าพูด- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่นเดินเซ หรือมีอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน- การสูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อนอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ในบางกรณีอาจเกิดเป็นอาการเตือนเกิดขึ้นชั้วขณะหนึ่งแล้วหายไปเอง หรือเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร เรียกว่าภาวะมีสมองขาดเลือดชั่วคราว(transient ischemic attack) ซึ่งพบได้ประมาณ 15%
17 Jul 2024
 โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก  ภัยเงียบช่วงหน้าร้อน
รู้จักโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก ( Heatstroke ) คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากอากาศที่ร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการแล้วไม่ได้รับการรักษาในทันที อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบหัวใจ ระบบสมอง ไต และกล้ามเนื้อ อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ช่วงฤดูร้อน หลายจังหวัดในประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อากาศที่ร้อนจัดทำให้เสี่ยงต่อโรคลมแดด ได้ง่าย
15 Jul 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy