แชร์

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก ภัยเงียบช่วงหน้าร้อน

อัพเดทล่าสุด: 12 ก.ย. 2024
167 ผู้เข้าชม
 โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก  ภัยเงียบช่วงหน้าร้อน

รู้จักโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด


     โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก ( Heatstroke )
คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากอากาศที่ร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการแล้วไม่ได้รับการรักษาในทันที อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบหัวใจ ระบบสมอง ไต และกล้ามเนื้อ อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ช่วงฤดูร้อน หลายจังหวัดในประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส  อากาศที่ร้อนจัดทำให้เสี่ยงต่อโรคลมแดด ได้ง่าย

 

 สัญญาณเตือนโรคฮีทสโตรก ที่ไม่ควรมองข้าม

  1. ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
  2. ผิวหนังแห้งและร้อน ตัวร้อนมาก แต่ไม่มีเหงื่อออก
  3. ความดันโลหิตลดลง มึนงง หน้ามืด  วิงเวียน ปวดศีรษะ
  4. หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว หายใจถี่
  5. กระหายน้ำมาก  คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
  6. อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป

 

 ใครที่มีความเสี่ยงโรคลมแดด ( Heatstroke )

  1. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดี
  2. ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน
  3. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
  4. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
  5. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน
  6. ผู้ที่ทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานานแล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน
  7. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้
 การช่วยเหลือเบื้องต้น หากพบคนเป็นลมแดด

  • ให้รีบนำผู้ที่มีอาการเข้าไปอยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่โดนแสงแดด เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลงให้นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น  คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อระบายความร้อนให้ไว้ขึ่น
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก ใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด   หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 การป้องกันโรคลมแดด
  1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด
  2. จิบน้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกาย
  3. งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
  4. เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรอยู่ในที่อากาศร้อน
  5. สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย แนะนำออกกำลังกายในที่ที่อากาศถ่ายเท ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น


บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ตุลาคม วันมะเร็งเต้านมสากล  "Wolrd Breast Cancer Day"
วันมะเร็งเต้านมสากล "Wolrd Breast Cancer Day"
3 ต.ค. 2024
 โรคหลอดเลือดสมอง   ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้
โรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ หรือเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือด อุดตัน หรือหลอดเลือดแตกส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆขึ้น อาการของโรคหลอดเลือดสมองสามารถพบอาการได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่เกิดการขาดเลือดหรือถูกทำลาย โดยอาการที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่- อาการอ่อนแรง หรือมีอาการอัมพฤกษ์ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมากมักเกิดกับร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ครึ่งซีกด้านซ้ายเป็นต้น- อาการชา หรือสูญเสียความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกันกับอาการอ่อนแรงที่มักเกิดกับร่างกายครึ่งซีกใดครึ่งซีกหนึ่ง- มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ได้พูดติด เสียงไม่ชัด หรือไม่เข้าใจค าพูด- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่นเดินเซ หรือมีอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน- การสูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อนอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ในบางกรณีอาจเกิดเป็นอาการเตือนเกิดขึ้นชั้วขณะหนึ่งแล้วหายไปเอง หรือเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร เรียกว่าภาวะมีสมองขาดเลือดชั่วคราว(transient ischemic attack) ซึ่งพบได้ประมาณ 15%
12 ก.ย. 2024
นิ้วล็อค หรือ Trigger Finger
นิ้วล็อค หรือ Trigger Finger เรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จึงมีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อคได้ เกิดจากการอักเสบหนาตัวของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ นิ้วจึงเกิดการล็อค ไม่สามารถกลับมายืดตรงได้ตามปกติสาเหตุของโรคนิ้วล็อค การใช้งานของมือและนิ้วมือมาก ระยะเวลานาน หรือบุคคลที่ต้องทำงานโดยการกำมือแน่น ๆ เป็นประจำ จนทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้
12 ก.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy