แชร์

โรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้

อัพเดทล่าสุด: 12 ก.ย. 2024
235 ผู้เข้าชม
 โรคหลอดเลือดสมอง   ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้

                               โรคหลอดเลือดสมอง   ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้

            โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ หรือเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือด อุดตัน หรือหลอดเลือดแตกส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆขึ้น

            อาการของโรคหลอดเลือดสมอง สามารถพบอาการได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่เกิดการขาดเลือดหรือถูกทำลาย โดยอาการที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่

 อาการอ่อนแรง หรือมีอาการอัมพฤกษ์ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมากมักเกิดกับร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ครึ่งซีกด้านซ้ายเป็นต้น

 อาการชา หรือสูญเสียความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกันกับอาการอ่อนแรงที่มักเกิดกับร่างกายครึ่งซีกใดครึ่งซีกหนึ่ง

 มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ได้พูดติด เสียงไม่ชัด หรือไม่เข้าใจค าพูด

 มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่นเดินเซ หรือมีอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน

 การสูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อน

            อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ในบางกรณีอาจเกิดเป็นอาการเตือนเกิดขึ้นชั้วขณะหนึ่งแล้วหายไปเอง หรือเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร เรียกว่าภาวะมีสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischemic attack) ซึ่งพบได้ประมาณ 15%


             ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

 ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่ง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้ภาวะความดันโลหิตกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 เบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวได้ทั่วร่างกาย จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์

 ไขมันในเลือดสูง ในทางการแพทย์พบว่าระดับไขมัน โคเลสเตอรอลในเลือดสูง มีความสัมพันธ์กับการเกิดหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงจึงควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย และรับประทานยาตามเวลาให้ถูกต้อง

 โรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหัวใจที่สามารถทำให้มีการหลุดของลิ่มเลือดจากหัวใจไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ได้แก่ หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation, โรคลิ้นหัวใจ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

              การรับประทานอาหาร

 ควรลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงเพราะจะเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในเลือดให้สูงขึ้น ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบ

 ควรลดอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมากเกินไปเพราะให้พลังงานสูง ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง ก่อให้เกิดโรคเบาหวานซึ่งส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้หลอดเลือดสมองตีบตันได้

 ควรลดอาหารที่มีรสเค็ม ผงปรุงรส อาหารกระป๋องหรืออาหารแปรรูปต่างๆ เพราะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูงซึ่งมีผลในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ

 ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามสัดส่วนที่เหมาะสม เลือกข้าวและธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เพิ่มปริมาณผักในแต่ละมื้อ เลือกผลไม้ที่มีเส้นใยสูงและไม่หวาน เพื่อควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเลือกรับประทานปลาที่มีกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า-3 (Omega-3) เพราะกรดไขมันโอเมก้า-3 เป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มไอโคซานอยด์ (Eicosanoids) ที่มีส่วนช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงมีส่วนช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดและช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคสมองขาดเลือดได้

              พฤติกรรมเสี่ยง

  • การออกกำลังกาย  การไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายแต่ไม่มากพอ ย่อมมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แนะนำว่าควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป สำหรับผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายมาเป็นระยะเวลานาน ควรได้รับการตรวจสุขภาพและปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มกลับมาออกกำลังกายใหม่ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • การสูบบุหรี่หรืออยู่ในที่ที่ต้องสูดควันบุหรี่  ผู้ที่สูบบุหรี่จัดมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง มากกว่าคนที่ไม่สูบ
  • การดื่มแอลกอฮอล์  จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนปกติ
  • การพักผ่อนนอนหลับ  ภาวะที่ร่างกายพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน ซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้เองส่งผลให้เกิดความเสี่ยงให้การเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นควรจัดสรรเวลาในการพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ความเครียด  จะส่งผลต่อความดันโลหิตอันจะเพิ่มความเสียงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองด้วย

โรคหลอดเลือดสมองรักษาได้หรือไม่ ?
               โรคหลอดเลือดสมองสามารถรักษาได้ หากเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่อันตราย แต่หากรู้เร็ว รักษาทันเวลา ก็สามารถช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือหายเป็นปกติได้  ทั้งนี้ โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ป้องกันได้ โดยการตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองโดยตรง เพื่อค้นหาความเสี่ยง และเลือกแนวทางการป้องกันที่เหมาะสมต่อไป

             การรักษาโรคหลอดหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค ซึ่งการป้องกันไม่ให้เกิดโรคคือการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ  ลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

             แต่ในกรณีผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การดูแลไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงฟื้นฟูภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต ถือเป็นสิ่งสำคัญการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่ดูแลตัวเองไม่ได้นั้น ต้องอาศัยการร่วมมือกันระหว่างสถานพยาบาลและครอบครัว การดูแลที่ดีจะลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและการเสียชีวิต  การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) อาจต้องได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วเพื่อประโยชน์ในการฟื้นตัวของผู้ป่วยเอง

สอบถามข้อมูลสำหรับการดูแล ฟื้นฟูผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)

โทร.098-851-5191 หรือ โทร. 035-249-500 กด 811

บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ตุลาคม วันมะเร็งเต้านมสากล  "Wolrd Breast Cancer Day"
วันมะเร็งเต้านมสากล "Wolrd Breast Cancer Day"
3 ต.ค. 2024
นิ้วล็อค หรือ Trigger Finger
นิ้วล็อค หรือ Trigger Finger เรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จึงมีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อคได้ เกิดจากการอักเสบหนาตัวของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ นิ้วจึงเกิดการล็อค ไม่สามารถกลับมายืดตรงได้ตามปกติสาเหตุของโรคนิ้วล็อค การใช้งานของมือและนิ้วมือมาก ระยะเวลานาน หรือบุคคลที่ต้องทำงานโดยการกำมือแน่น ๆ เป็นประจำ จนทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้
12 ก.ย. 2024
 โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก  ภัยเงียบช่วงหน้าร้อน
รู้จักโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก ( Heatstroke ) คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากอากาศที่ร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการแล้วไม่ได้รับการรักษาในทันที อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบหัวใจ ระบบสมอง ไต และกล้ามเนื้อ อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ช่วงฤดูร้อน หลายจังหวัดในประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อากาศที่ร้อนจัดทำให้เสี่ยงต่อโรคลมแดด ได้ง่าย
12 ก.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy