แชร์

7 ตุลาคม วันมะเร็งเต้านมสากล "Wolrd Breast Cancer Day"

อัพเดทล่าสุด: 3 ต.ค. 2024
87 ผู้เข้าชม
7 ตุลาคม วันมะเร็งเต้านมสากล  "Wolrd Breast Cancer Day"

มะเร็งเต้านมภัยเงียบอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยมะเร็งเต้านมมากกว่า 2.3 ล้านรายต่อปี WellnessReju อยากเชิญชวนให้คุณผู้หญิงทุกท่าน ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เพราะมะเร็งเต้านมสามารถป้องกันและรักษาได้

อาการของมะเร็งเต้านมในระยะแรก

มะเร็งเต้านมเป็นภัยร้ายมักแฝงตัวมาแบบเงียบ ๆ เพราะไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมาในระยะเริ่มแรกจนกระทั่งพบก้อนเนื้อที่เริ่มใหญ่และคลำเจอง่ายขึ้น ผู้ป่วยจึงจะรู้สึกได้ถึงความผิดปกติ หรือได้รับการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตร้าซาวด์

สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้

1. คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้

สามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้านเป็นประจำ โดยก้อนเนื้อที่พบอาจจะกดเจ็บ หรือไม่เจ็บก็ได้ ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนหลังรอบเดือนหมดประมาณ 1 สัปดาห์
2. ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
แม้ปกติเต้านมทั้ง 2 ข้างอาจมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกันบ้าง แต่การหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างมีลักษณะผิดปกติไปจากเดิม จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้เท่าทันหากเกิดโรคร้ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
3. ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือ บวมหนาเหมือนเปลือกส้ม
รวมถึงสีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ละเอียด เนื่องจากอาจเป็นอาการของเซลล์มะเร็งที่ลุกลามมาถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
4.มีน้ำเหลือง หรือ ของเหลวไหลออกมาจากหัวนม
โดยเฉพาะหากพบว่าน้ำเหลืองหรือของเหลวไหลนั้นมีสีคล้ายเลือด และออกจากหัวนมเพียงรูเดียว ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเต้านมโดยละเอียด
5. อาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม หรือ ผิวหนังของเต้านมอักเสบ
หากมีอาการเจ็บเต้านมโดยที่ไม่ใช่ช่วงมีประจำเดือน หรือพบว่าผิวหนังรอบ ๆ เต้านมบวมแดงอักเสบ โดยเฉพาะเมื่อคลำพบก้อนเนื้อร่วมด้วยอย่าละเลยว่าเป็นเรื่องธรรมดาเด็ดขาด
6. ผื่นคันบริเวณเต้านมรักษาแล้วไม่หายขาด
ผื่นคันอาจเกิดที่หัวนมหรือบริเวณเต้าส่วนใหญ่ เริ่มต้นเป็นเพียงผื่นแดงแสบๆ คันๆ แม้จะรักษาโดยแพทย์ผิวหนังแล้วยังไม่หายขาดจนกลายเป็นแผลตกสะเก็ดแข็ง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมอีกครั้ง เนื่องจากอาจเกิดจากเซลล์มะเร็งลามขึ้นมาที่ผิวหนังด้านนมบริเวณหัวนมหรือเต้านมแล้ว

ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม โดยมีปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงมากมาย ทั้งอายุ พันธุกรรม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต การป้องกันที่ดีคือหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายและเต้านมสม่ำเสมอ หากพบสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
1.ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป
2.ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์
3.มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี
4.ญาติสายตรงมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
5.รับประทานฮอร์โมนนานเพศหญิงติดต่อกันมากกว่า 5 ปี หรือยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน

มะเร็งเต้านมป้องกันได้
การป้องกันมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุด คือการตรวจพบเจอให้เร็วที่สุด 90% ของผู้หญิงตรวจพบก้อนเนื้องอกในเต้านมครั้งแรกด้วยตนเอง ดังนั้นการตรวจเต้านมด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็น และควรทำเป็นประจำทุกเดือนตั้งแต่อายุ 20ปี ขึ้นไป


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.098-851-5191 หรือ โทร.035-249-500 กด 811
บทความที่เกี่ยวข้อง
 โรคหลอดเลือดสมอง   ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้
โรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ หรือเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือด อุดตัน หรือหลอดเลือดแตกส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆขึ้น อาการของโรคหลอดเลือดสมองสามารถพบอาการได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่เกิดการขาดเลือดหรือถูกทำลาย โดยอาการที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่- อาการอ่อนแรง หรือมีอาการอัมพฤกษ์ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมากมักเกิดกับร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ครึ่งซีกด้านซ้ายเป็นต้น- อาการชา หรือสูญเสียความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกันกับอาการอ่อนแรงที่มักเกิดกับร่างกายครึ่งซีกใดครึ่งซีกหนึ่ง- มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ได้พูดติด เสียงไม่ชัด หรือไม่เข้าใจค าพูด- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่นเดินเซ หรือมีอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน- การสูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อนอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ในบางกรณีอาจเกิดเป็นอาการเตือนเกิดขึ้นชั้วขณะหนึ่งแล้วหายไปเอง หรือเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร เรียกว่าภาวะมีสมองขาดเลือดชั่วคราว(transient ischemic attack) ซึ่งพบได้ประมาณ 15%
12 ก.ย. 2024
นิ้วล็อค หรือ Trigger Finger
นิ้วล็อค หรือ Trigger Finger เรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จึงมีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อคได้ เกิดจากการอักเสบหนาตัวของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ นิ้วจึงเกิดการล็อค ไม่สามารถกลับมายืดตรงได้ตามปกติสาเหตุของโรคนิ้วล็อค การใช้งานของมือและนิ้วมือมาก ระยะเวลานาน หรือบุคคลที่ต้องทำงานโดยการกำมือแน่น ๆ เป็นประจำ จนทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้
12 ก.ย. 2024
 โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก  ภัยเงียบช่วงหน้าร้อน
รู้จักโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก ( Heatstroke ) คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากอากาศที่ร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการแล้วไม่ได้รับการรักษาในทันที อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบหัวใจ ระบบสมอง ไต และกล้ามเนื้อ อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ช่วงฤดูร้อน หลายจังหวัดในประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อากาศที่ร้อนจัดทำให้เสี่ยงต่อโรคลมแดด ได้ง่าย
12 ก.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy