แชร์

ตับคืออะไร

อัพเดทล่าสุด: 6 มี.ค. 2025
52 ผู้เข้าชม

ตับคืออะไร  ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญอวัยวะหนึ่งของร่างกาย
      มีน้ำหนักประมาณ 1,400 - 1,800 กรัม รูปร่างของตับคล้ายกับสามเหลี่ยมชายธง ตำแหน่งของตับจะอยู่ใต้ชายโครงข้างขวา ทอดยาวไปทางด้านซ้ายอยู่ใต้กะบังลม ด้านล่างติดกับถุงน้ำดีและลำไส้ใหญ่ส่วนกลางด้านซ้ายติดกับกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กและตับอ่อน  โดยปกติตับจะมีสีแดงเข้มเกือบเป็นสีดำแดง

ตับ  อวัยวะสุดสำคัญที่ปล่อยให้พังไม่ได้
     ตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่มากกว่า 500 อย่างเพื่อให้มนุษย์เราสามารถดำรงชีพในชีวิตประจำวัน และมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการทำงานของร่างกายมนุษย์เป็นอย่างมาก เปรียบได้กับโรงงานที่สำคัญขนาดใหญ่ในร่างกายเรา

หน้าที่ของ "ตับ"
     ตับ เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดภายในร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้มีความสมดุล ช่วยขจัดสารพิษออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ และกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ออกจากเลือด นอกจากนี้ยังสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เลือดแข็งตัว รวมถึงสร้างน้ำดีซึ่งช่วยดูดซึมไขมันและวิตามินชนิดละลายน้ำในน้ำมัน

              หน้าที่หลักของตับอีกอย่างก็คือ การกรองของเสียและขจัดสารพิษตกค้างจากการรับประทานอาหารออกจากร่างกายเรา ยิ่งหากเราเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณประโยชน์อาจส่งผลเสียต่อตับได้

 

พฤติกรรมเสี่ยงโรคตับ
              ตับมีหน้าที่ขจัดสารพิษ เมื่อไหร่ก็ตามที่ละเลยขาดการเอาใจใส่ ทั้งเรื่องของการกินและการใช้ชีวิตประจำวันล้วนส่งผลต่อสุขภาพของตับเราทั้งนั้นเลยค่ะ สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ตับมีปัญหาและเกิดโรคตับ มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารของแต่ละคนที่เปลี่ยนไป

พฤติกรรมที่ทำให้คุณเสี่ยงโรคตับ เช่น
                 รับประทานอาหารปิ้งย่าง อาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ประเภท ปิ้งย่าง ของทอด ของมันๆ และอาหารที่มีไขมันสูง เช่น นม เนย กะทิ ชีส จะทำให้ร่างกายมีไขมันส่วนเกินมากเกินไป จนทำให้เกิดไขมันในเลือดสูง ไขมันสะสมที่ตับจนนำไปสู่โรคไขมันพอกตับ

                ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ  ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน จะเสี่ยงเป็นโรคตับมากกว่าใคร เนื่องจากแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้มีไขมันสะสมในตับ

                การรับประทานยาและอาหารเสริม  เมื่อร่างกายได้รับยาบางชนิดในปริมาณสูง หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน ตับจะไม่สามารถทำลายได้ทัน เหลือเป็นส่วนเกินและมีฤทธิ์ทำลายเนื้อตับ

                ภาวะอ้วนลงพุง เมื่อมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไป จนทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่ตับ นำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ตับอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นโรคตับแข็ง

               รับประทานน้ำตาลมากจนเกินไป โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสซึ่งมักพบในเครื่องดื่มที่มีรสหวานจะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมอยู่ในตับ ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีฟรุกโตสมากเกินไปจึงเป็นการทำร้ายตับ การมีระดับน้ำตาลที่สูงทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับจนกลายเป็นโรคไขมันพอกตับได้ แม้จะไม่ได้มีภาวะน้ำหนักเกินก็ตาม

 

                   หากไม่อยากเป็นโรคตับ ก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาภาวะตับอักเสบ ไขมันพอกตับ และพังผืดในตับ เพราะการตรวจพบในเบื้องต้นจะสามารถรักษาได้ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นมะเร็งตับ

                   ตับถือเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเราเป็นอย่างมาก ด้วยสาเหตุนี้ เราควรใส่ใจดูแลสุขภาพตับของเราให้ทำหน้าที่ได้ดีอยู่ตลอดนะคะ



หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 098-851-5191 หรือ 035-249-500 กด 811

 




บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ตุลาคม วันมะเร็งเต้านมสากล  "Wolrd Breast Cancer Day"
วันมะเร็งเต้านมสากล "Wolrd Breast Cancer Day"
3 ต.ค. 2024
 โรคหลอดเลือดสมอง   ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้
โรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ หรือเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือด อุดตัน หรือหลอดเลือดแตกส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆขึ้น อาการของโรคหลอดเลือดสมองสามารถพบอาการได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่เกิดการขาดเลือดหรือถูกทำลาย โดยอาการที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่- อาการอ่อนแรง หรือมีอาการอัมพฤกษ์ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมากมักเกิดกับร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ครึ่งซีกด้านซ้ายเป็นต้น- อาการชา หรือสูญเสียความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกันกับอาการอ่อนแรงที่มักเกิดกับร่างกายครึ่งซีกใดครึ่งซีกหนึ่ง- มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ได้พูดติด เสียงไม่ชัด หรือไม่เข้าใจค าพูด- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่นเดินเซ หรือมีอาการเวียนศีรษะเฉียบพลัน- การสูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อนอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ในบางกรณีอาจเกิดเป็นอาการเตือนเกิดขึ้นชั้วขณะหนึ่งแล้วหายไปเอง หรือเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร เรียกว่าภาวะมีสมองขาดเลือดชั่วคราว(transient ischemic attack) ซึ่งพบได้ประมาณ 15%
12 ก.ค. 2024
นิ้วล็อค หรือ Trigger Finger
นิ้วล็อค หรือ Trigger Finger เรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จึงมีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อคได้ เกิดจากการอักเสบหนาตัวของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ นิ้วจึงเกิดการล็อค ไม่สามารถกลับมายืดตรงได้ตามปกติสาเหตุของโรคนิ้วล็อค การใช้งานของมือและนิ้วมือมาก ระยะเวลานาน หรือบุคคลที่ต้องทำงานโดยการกำมือแน่น ๆ เป็นประจำ จนทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้
12 มิ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy